วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2559

แนะนำตัว


นาย พรรษวุฒิ จอมนงค์


 เอก  นวัตกรรมสังคม   รหัสนักศึกษา 581712013   Sec. AC 
ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
ลำดับที่ 43

อาหารพื้นบ้าน


          ในอดีตบริเวณภาคเหนือของไทยเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนามาก่อน ช่วงที่อาณาจักรแห่งนี้เรืองอำนาจ ได้แผ่ขยายอาณาเขตเข้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว และมีผู้คนจากดินแดนต่าง ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้ จึงได้รับวัฒนธรรมหลากหลายจากชนชาติต่าง ๆ เข้ามาในชีวิตประจำวันรวมทั้งอาหารการกินด้วยอาหารของภาคเหนือ ประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก มีน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เช่น    น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่องมีแกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ แกงแค นอกจากนั้นยังมีแหนม ไส้อั่ว แคบหมู และผักต่าง ๆ สภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือแตกต่างจากภาคอื่น ๆ นั่นคือ การที่อากาศหนาวเย็นเป็นเหตุผลให้อาหารส่วนใหญ่มีไขมันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล  ไส้อั่ว เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น อีกทั้งการที่อาศัยอยู่ในหุบเขาและบนที่สูงอยู่ใกล้กับป่า จึงนิยมนำ พืชพันธุ์ในป่ามาปรุงเป็นอาหาร เช่น ผักแค บอน หยวกกล้วย ผักหวาน ทำให้เกิดอาหารพื้นบ้าน  ชื่อต่าง ๆ เช่น    แกงแค แกงหยวกกล้วย แกงบอน

1.ไส้อั่ว


          คำว่า อั่ว หมายถึง แทรก หรือยัดไว้ตรงกลาง ไส้อั่ว จึงหมายถึงไส้ที่มีการนำสิ่งของยัดไว้ การทำไส้อั่ว นิยมใช้ไส้หมูและเนื้อหมู การทำไส้อั่ว เป็นวิธีการถนอมอาหาร ให้สามารถรับประทานได้นานขึ้น คือประมาณ 1-2 วัน แต่ถ้าเก็บไว้ในที่เย็น หรือปัจจุบัน มีการบรรจุถุงแบบสูญญากาศ ก็เก็บไว้ได้นานมากยิ่งขึ้น การทำให้ไส้อั่วสุก จะใช้วิธีปิ้ง หรือทอดก็ได้

2. น้ำพริกหนุ่ม


          คือพริกหนุ่ม คือพริกสดที่ยังไม่แก่จัด น้ำพริกหนุ่ม เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้น เป็นอาหารพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันทั่วไป มีจำหน่ายแพร่หลายแก่นักท่องเที่ยว นิยมซื้อเป็นของฝาก รับประทานกับแคบหมู บางสูตรใส่ปลาร้าสับ และกะปิห่อใบตองย่างไฟ บางสูตรใส่น้ำปลากับเกลือ แล้วแต่ชอบ


3.น้ำพริกอ่อง


          นับเป็นน้ำพริกพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายพอๆ กับน้ำพริกหนุ่ม ลักษณะเด่นของน้ำพริกอ่อง คือมีสีส้มของสีมะเขือเทศและพริกแห้ง ที่เคี่ยวจนเป็นน้ำขลุกขลิก มีน้ำมันลอยหน้าเล็กน้อย มีสามรส คือ เปรี้ยว เค็ม เผ็ด เล็กน้อย และรสหวานตาม นิยมรับประทานกับผักสดหรือผักต้มก็ได้  บางสูตร ผัดหมูก่อนแล้ว จึงตามด้วยเครื่องปรุงและมะเขือเทศภายหลัง บางสูตร โขลกเนื้อหมู เครื่องปรุงและมะเขือเทศให้เข้ากันก่อน จึงนำไปผัดกับน้ำมันพืช บางสูตร ใส่ถั่วเน่าแข็บหรือใส่เต้าเจี้ยว ในการปรุงรส

4. แคบหมู


          คือแคบหมู เป็นอาหารขึ้นชื่อของชาวล้านนา ใช้รับประทานร่วมกับอาหารอื่นๆ เช่น น้ำพริก ขนมจีนน้ำเงี้ยว ใช้เป็นส่วนผสมในการตำน้ำพริก หรือแกง เช่น แกงบอน แกงผักตำลึง (แกงผักแคบ) แกงหน่อไม้ แคบหมูมีทั้งชนิดติดมัน และไม่ติดมัน ที่เรียกกันว่า แคบหมูไร้มัน ชาวล้านนาดั้งเดิม นิยมรับประทานแคบหมูเป็นอาหาร มากกว่าเป็นเครื่องแนม

5. แกงขนุน


คือ  แกงขนุน หรือ แกงบ่าหนุน ถือว่าเป็นแกงที่มีชื่อเป็นมงคล บางท่านนิยมแกงกินในงานแต่งงาน เพื่อเป็นเคล็ดว่าให้คู่แต่งงานนั้นมีความเกื้อหนุนจุนเจือต่อกัน และในวันปากปี คือหลังวันเถลิงศก (วันพญาวัน) หนึ่งวัน บางแห่งนิยมใส่ข่า ตะไคร้ทุบ และอาจมีจักข่าน (สะค้าน) บ่าแขว่น (ผลกำจัด) โขลกใส่ลงไปในแกงด้วย



อ้างอิง

- http://piknikkannika.blogspot.com/
















วัฒนธรรม

วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับศาสนา ความเชื่อ
     
         ความเชื่อเกี่ยวกับการนับถือผี ชาวเหนือหรือที่เรียกกันว่า "ชาวล้านนา" มีความเชื่อในเรื่องการนับถือผีตั้งแต่เดิม โดย เชื่อว่าสถานที่แทบทุกแห่ง มีผีให้ความคุ้มครองรักษาอยู่ ความเชื่อนี้จึงมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เห็นได้ จากขนบธรรมเนียม ประเพณี และพิธีกรรมต่างๆ ของชาว เหนือ เช่น ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวเหนือ (พ่ออุ๊ยแม่อุ๊ย) เมื่อไปวัดฟัง ธรรมก็จะประกอบพิธีเลี้ยงผี คือ จัดหาอาหารคาว-หวานเซ่น สังเวยผีปู่ย่าด้วย


 ผีที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของชาวล้านนา เช่น
        - ผีบรรพบุรุษ มีหน้าที่คุ้มครองเครือญาติและครอบครัว
        - ผีอารักษ์ หรือผีเจ้าที่เจ้าทาง มีหน้าที่คุ้มครองบ้านเมืองและชุมชน
        - ผีขุนน้ำ มีหน้าที่ให้น้ำแก่ไร่นา
        - ผีฝาย มีหน้าที่คุ้มครองเมืองฝาย
        - ผีสบน้ำ หรือผีปากน้ำ มีหน้าที่คุ้มครองบริเวณที่แม่น้ำสองสายมาบรรจบกัน
        - ผีวิญญาณประจำข้าว เรียกว่า เจ้าแม่โพสพ
        - ผีวิญญาณประจำแผ่นดิน เรียกว่า เจ้าแม่ธรณี

        ในทุกวันนี้เรื่องในการนับถือผีและประเพณีที่เกี่ยวข้อง มีการเปลี่ยนแปลงและเหลือน้อยลง โดยเฉพาะใน เขตเมือง แต่ในชนบทยังคงมีการปฏิบัติกันอยู่

ประเพณีสงกรานต์
        
         ชาวเหนือมีประเพณีสงกรานต์ที่เหมือนกับชาวไทยภาคอื่น คือ มี การทรงน้ำพระพุทธรูป มีประเพณีขนทรายเข้าวัด ประเพณีรดน้ำ ดำรง ขอพรจากผู้หลักผู้ใหญ่ สิ่งที่เป็นประเพณีท้องถิ่น คือ มีการทำ บุญถวายขันข้าวที่ถวายตุง และไม้ค้ำสะหลีหรือไม้ค้ำโพธิ์ เพื่ออุทิศ ส่วนกุศลให้แก่วิญญาณผีบรรพบุรุษ และเป็นผลบุญสำหรับตนเอง




ประเพณีสืบชะตา

        ชาวล้านนามีความเชื่อว่า การทำพิธีสืบชะตาจะช่วยต่ออายุให้ตน เอง ญาติพี่น้อง และบ้านเมืองให้ยืนยาว ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง และความเป็นสิริมงคล โดยแบ่งการสืบชะตาแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
        - การสืบชะตาคน นิยมทำกันหลายโอกาส เช่น วันเกิด วันที่
        - ได้รับยศตำแหน่ง วันขึ้นบ้านเมือง
        - การสืบชะตาบ้าน เป็นการสืบชะตาชุมชนหรือหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดสิริมงคลปัดเป่าทุกภัยต่างๆ นิยมจัดเมื่อผ่านช่วงสงกรานต์ไปแล้ว การสืบชะตาเมือง เป็นพิธีกรรมที่จัดขึ้นด้วยความเชื่อว่าเทวดาจะช่วยอำนวยความสุขให้บ้านเมือง
เจริญรุ่งเรือง อุดมสมบูรณ์ ในสมัยโบราณพระเจ้าแผ่นดินเป็นประธานในพิธีสืบชะตาเมือง




อ้างอิง
- https://sites.google.com/site/mhutooo/wathnthrrm

สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ

สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ

ดอยอ่างขาง
            ดอยอ่างขาง เป็นที่ตั้งของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ซึ่งมีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่หาผลิตผลที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา และทำการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแก่ชาวเขาในบริเวณใกล้เคียง โดยมีชาวเขาเผ่าต่างๆ ได้แก่ เผ่ามูเซอดำ ปะหล่อง จีนฮ่อ และไทยใหญ่ นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมแปลงทดลองปลูกไม้ผลเมืองหนาว ได้แก่ ท้อ บ๊วย พลัม ฯลฯ พืชผักเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ เช่น แคร์รอท ผักสลัดต่างๆ สวนสมุนไพร แปลงดอกไม้ เช่น คาร์เนชั่น กุหลาบ แอสเตอร์ เบญจมาศ ฯลฯ โรงบรรจุผลไม้เพื่อส่งจำหน่ายและสหกรณ์ของโครงการ ซึ่งจำหน่ายผลิตผลที่ปลูกในบริเวณโครงการให้แก่นักท่องเที่ยวตามฤดูกาล

 

          ดอยอ่างขาง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่นของจังหวัดเชียงใหม่ อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางทิศเหนือ 137 กม. แยกซ้ายเข้าไปอีก 25 กม. ดอยอ่างขางเป็นเทือกดอยสูงติดกับสันเขาพรมแดนประเทศพม่า จุดเด่นที่นักท่องเที่ยวไปเยือนดอยอ่างขางคือการไปเที่ยวชมดอกไม้เมืองหนาวภายโครงการฯ สถานีเกษตรดอยอ่างขางได้รับการจัดตั้งเมื่อปี 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อวิจัยพืชเมืองหนาวเพื่อส่งเสริมให้ชาวเขาปลูกทดแทนฝิ่นและหยุดการทำลายป่า ดอยอ่างขางมีลักษณะเป็นแอ่งที่ราบในหุบเขาลักษณะเหมือนท้องกะทะหรือเหมือนอ่าง อยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 1,400 เมตร ภายในโครงการมีสิ่งที่น่าสนใจมากมาก เช่น แปลงปลูกไม้ดอกไม้ประดับกลางแจ้ง แปลงปลูกไม้ในร่ม แปลงทดลองกุหลาบ แปลงปลูกผัก แปลงปลูกผักในร่ม สวนท้อ สวนบ๊วย ป่าซากุระ ป่าเมเปิ้ล พระตำหนักดอยอ่างขาง

พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ ๑ (ฝาง)


         พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ ๑ (ฝาก) ก่อตั้งขึ้นจากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงต้องการเผยแพร่พระราชอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับการลดพื้นที่ปลูกพืชเสพติดโดยสันติวิธี และพระราชวิสัยทัศน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวไทยภูเขา รวมทั้ง วิธีการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม บนพื้นที่สูงภาคเหนือ อย่างรอบด้าน ครบวงจร และยั่งยืน ของพระองค์
เนื่องจาก พิพิธภัณฑ์ฯ มีลักษณะเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นที่ที่มีชีวิต (living SITE MUSEUM) สถานที่ที่ผู้สนใจสามารถเยี่ยมชมและศึกษาเรียนรู้ จึงประกอบไปด้วย
๑. อาคารพิพิธภัณฑ์ฯ เป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการ วัตถุสะสม และเก็บรวบรวมข้อมูล อันเกี่ยวข้องกับมูลนิธิโครงการหลวง โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง) และ บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด
๒. อาคารโรงงานหลวงฯ เป็นพื้นที่จัดแสดงสายการผลิตและกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ ดอยคำเช่น ลิ้นจี่กระป๋อง สตรอว์เบอร์รีอบแห้ง น้ำดื่มบริสุทธิ์ เสาวรสแช่แข็ง และบ๊วยดอง เป็นต้น รวมทั้ง แปลงสาธิตวัตถุดิบ
๓. ชุมชนบ้านยาง อดีตเคยเป็นถิ่นอาศัยของชาวยาง (ปะกากะญอ) แต่ถูกชาวจีนยูนนานที่อพยพหนีภัยสงครามการเมืองจากประเทศจีน เข้ามาลงหลักปักฐานพึ่งพระบรมโพธิสมภารเมื่อกว่า ๕๐ ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีเอกลักษณ์โดดเด่นด้านวัฒนธรรม ความหลากหลายของเชื้อชาติและศาสนา รวมทั้ง การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและธรรมชาติ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอุทกภัยน้ำป่า
นอกจากจะได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของแนวทางการพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้ว ยังมีปรัชญาที่ประธานมูลนิธิโครงการหลวง (หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี) สรุปความจากแนวพระราชดำริที่ว่า ผลสัมฤทธิ์ของมูลนิธิโครงการหลวงคือการ ช่วยชาวเขา ช่วยชาวเรา ช่วยชาวโลกนั้นหมายความว่าอย่างไร
พิพิธภัณฑ์ฯ ตั้งอยู่ที่ตีนดอยอ่างขาง แยกจากทางขึ้นสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ไปประมาณ ๒ กิโลเมตร ใช้เวลาในการเที่ยวชมประมาณ ๑ ชั่วโมง นอกจากนั้น ยังมีคำบรรยายภาพและนิทรรศการ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษอีกด้วย

อุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก


         อุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในเขตท้องที่ ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะภูมิประเทศสลับซับซ้อน เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาผีปันน้ำ เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ สัตว์ป่าและของป่าหลายชนิด มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่งดงาม เช่น ถ้ำห้วยบอน บ่อน้ำร้อน น้ำพุร้อน ห้วยแม่ใจ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง ของจังหวัดเชียงใหม่ และสามารถเดินทางเข้าไปเที่ยวได้โดยสะดวกสบาย มีเนื้อที่ประมาณ 380 ตารางกิโลเมตร หรือ 237,500 ไร่ ได้ประกาศจัดตั้งเป็น "อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง" เมื่อวันที่4 กันยายน 2543

โป่งน้ำร้อนฝาง

        
       
         โป่งน้ำร้อนฝางเป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติเกิดจากความร้อนใต้ดิน มีไอร้อนคุกรุ่นอยู่ตลอดเวลา อุณหภูมิของน้ำประมาณ 40-88 องศาเซสเซียล มีจำนวนมากมายหลายบ่อในพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ (บ่อใหญ่มีไอน้ำร้อนพุ่งขึ้นสูงถึง 40-50 เมตร) อุทยานแห่งชาติได้จัดบริการห้องอาบน้ำแร่และอบไอน้ำ บ่อน้ำร้อนจะอยู่ก่อนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติเล็กน้อย และทางอุทยานแห่งชาติได้จัดให้มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติขึ้นเขาผ่านป่าเบญจพรรณมาถึงบ่อน้ำร้อน ระยะทางประมาณ 1.2 กิโลเมตร

อ้างอิง
- https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B8%9D%E0%B8%B2%E0%B8%87



ประวัติ ฝาง


ประวัติศาสตร์

       
        เดิมอำเภอฝางเป็นที่ตั้งของเมืองฝาง ซึ่งเป็นเมืองหลวงในอดีต มีอายุนับพันปีในตำนานโยนกกล่าวไว้ว่า เมืองฝาง ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 1184 โดยเจ้าลวจังกราช เป็นหัวเมืองทางตอนเหนือของอาณาจักรล้านนา พญามังรายหรือพ่อขุนเม็งรายมหาราชทรงเคยเสด็จมาปกครองเมืองฝางและประทับอยู่ที่เมืองนี้(ก่อนหน้านั้นเมืองฝางอาจจะเป็นเมืองร้างหรือถูกพญามังรายเข้ายืดจากเจ้าเมืององค์ก่อนหรือไม่ยังไม่ทราบแน่ชัด) พระองค์ทรงเตรียมกำลังพลก่อนที่จะยกทัพไปตีเมืองหริภุญชัย สร้างเวียงกุมกาม และสร้างเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 1839 เรียกสั้นๆ ว่า นครเชียงใหม่ต่อไป ดังนั้นเมืองฝางจึงเป็นเมืองโบราณที่มีอายุนับพันปี ปัจจุบันยังปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์คือ กำแพงเมืองและคูเมือง แบบเดียวกับในเมืองเชียงใหม่ 
          อำเภอฝางเคยเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย แต่ถูกโอนมาสังกัดจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2468 ด้วยเหตุผลเรื่องการคมนาคมและการติดต่อราชการ อำเภอฝางได้มีการสร้างที่ว่าการอำเภอฝางขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2488 และปัจจุบันได้มีการสร้างอาคารที่ว่าการอำเภอฝางขึ้นใหม่ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2540 โดยยังคงเก็บรักษาอาคารที่ว่าการอำเภอฝาง หลังเก่าไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมอันเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเสด็จเยี่ยมราษฎร ณ อาคารแห่งนี้เมื่อปีพุทธศักราช 2501 ต่อมาได้มีการแยกกิ่งอำเภอออกคือ กิ่งอำเภอแม่อายในปีพ.ศ. 2510 ก่อนที่ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอแม่อายในปีพ.ศ. 2516 ต่อมาได้แยกกิ่งอำเภออีกคือกิ่งอำเภอไชยปราการในปีพ.ศ. 2531 และได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอไชยปราการในปีพ.ศ. 2537

อำเภอฝาง
       ฝาง  เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง ประชากรมีทั้งชาวไทยพื้นราบและชาวไทยภูเขา อำเภอฝางเป็นอำเภอศูนย์กลางความเจริญในเขตเชียงใหม่ตอนบน มีอำเภอบริวารคือ อำเภอแม่อายและอำเภอไชยปราการ มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสองของจังหวัดเชียงใหม่ รองจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ มีทั้งประชากรจริงและประชากรแฝง อีกทั้งยังสามารถเดินทางไปจังหวัดเชียงรายได้อย่างสะดวกหลายช่องทาง ทำให้อำเภอฝางจะได้รับความเจริญจากจังหวัดเชียงรายจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนจีนตอนใต้-อินโดจีนในอนาคต
ในปี พ.ศ. 2552 อำเภอฝางได้รับการเสนอเพื่อพิจารณาจัดตั้งเป็นศูนย์กลางของจังหวัดฝาง โดยการรวมเอาอำเภอใกล้เคียงเข้าด้วยกันตอนนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณา ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างรอพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร

 

ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอฝางตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐฉาน (ประเทศพม่า) และอำเภอแม่อาย
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอแม่อาย
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอแม่สรวย (จังหวัดเชียงราย) และอำเภอไชยปราการ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับรัฐฉาน (ประเทศพม่า)
สภาพภูมิอากาศ
มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 25 องศา มีอากาศหนาวเย็นในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 10-19 องศา ส่วนอุณหภูมิสูงสุดอยู่ในช่วงเดือนเมษายน ประมาณ 39 องศา
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอฝางแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 ตำบล 119 หมู่บ้าน ได้แก่

 

การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอฝางประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลเวียงฝาง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเวียง
- เทศบาลตำบลบ้านแม่ข่า ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลแม่ข่า
- เทศบาลตำบลแม่ข่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ข่า (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบ้านแม่ข่า)
- เทศบาลตำบลสันทราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสันทรายทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเวียงฝาง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลม่อนปิ่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลม่อนปิ่นทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่งอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่งอนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สูน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่สูนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่คะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่คะทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งน้ำร้อน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโป่งน้ำร้อนทั้งตำบล

สถานที่ราชการที่สำคัญ
- ที่ทำการอำเภอฝาง
- ศาลจังหวัดฝาง
- เรือนจำอำเภอฝาง
- สำนักงานยุติธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สาขาฝาง
- สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดเชียงใหม่ สาขาฝาง
- สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ สาขาฝาง
- สำนักงานอัยการจังหวัดฝาง
- สำนักงานบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ สาขาฝาง
- สำนักงานสัสดี อำเภอฝาง
- สำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่ สาขาฝาง
- สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาฝาง
- คลังจังหวัดฝาง
- สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาฝาง
- สำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ สาขาฝาง
- สำนักงานจัดหางาน สาขาฝาง
- สถานีตำรวจภูธรฝาง
- ด่านตรวจคนเข้าเมืองฝาง
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอฝาง
- โรงพยาบาลฝาง
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 3
- สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย อำเภอฝาง
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม่ (ฝาง)
- อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง
- ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ
- สำนักงานเกษตรอำเภอฝาง
- สำนักงานปศุสัตว์อำเภอฝาง
- สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอฝาง
- สำนักงานวัฒนธรรมและสภาวัฒนธรรมอำเภอฝาง
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สาขาฝาง
- การประปาส่วนภูมิภาค สาขาฝาง
- สถานศึกษาในอำเภอฝาง
- มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย วิทยาเขตฝาง
- วิทยาลัยการอาชีพฝาง
- โรงเรียนฝางชนูปถัมภ์
- โรงเรียนรังษีวิทยา
- โรงเรียนรัตนาเอื้อวิทยา
- โรงเรียนสายอักษร
- โรงเรียนบ้านเวียงฝาง
- โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่

ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ
อำเภอฝางถือว่าเป็นอำเภอที่มีความสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่เพราะมีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญมากมาย เช่น ดอยอ่างขาง ดอยผ้าห่มปก โป่งน้ำร้อน เป็นต้น อำเภอฝางยังเป็นอำเภอที่ปลูกส้มมากเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย และยังเป็นต้นกำเนิดของ ส้มสายน้ำผึ้ง ส้มพันธุ์ใหม่ที่มีรสชาติดี จนทำให้ส้มกลายเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของอำเภอฝาง และสวนส้มยังกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก อำเภอฝางยังเป็นแหล่งที่ค้นพบบ่อน้ำมันดิบแห่งแรกของประเทศไทย มีการขุดเจาะน้ำมันขึ้นมาใช้เป็นเวลากว่า 100 ปีแล้ว จนถึงปัจจุบันนี้ มีการสร้างโรงกลั่นน้ำมัน และพิพิธภัณฑ์ปิโตรเลียม ผู้สนใจสามารถเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และศูนย์การเรียนรู้ด้านปิโตรเลียมและพลังงานอื่น ๆ ของกรมการพลังงานทหาร ณ ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ อำเภอฝาง ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 
น้ำมันดิบ ปิโตรเลียม มีการสำรวจขุดเจาะและเก็บกลั่นน้ำมันได้วันละ 1,200 บาเรล โดย กรมการพลังงานทหารกระทรวงกลาโหม ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลแม่คะ สำหรับแหล่งน้ำมันที่ขุดได้อยู่ในเขต ตำบลสันทราย ตำบลแม่สูน และตำบลแม่คะ อำเภอฝาง
ป่าไม้ ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ดอยผ้าห่มปก ป่าสงวนแห่งชาติแม่หลักหมื่น และป่าสงวนแห่งชาติแม่สูน ประกอบด้วย ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ซึ่งมีพันธุ์ไม้ต่างๆที่มีค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ลำดวนดง ประดู่ ทะโล้ จำปีป่า ฯลฯ
บ่อน้ำพุร้อนฝาง ตั้งอยู่ ณ ตำบลโป่งน้ำร้อน สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ นอกจากนี้แล้วยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่น่าท่องเที่ยวได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 จากกรมอุทยานแห่งชาติ ฯ
น้ำรู แหล่งน้ำตามธรรมชาติที่ตำบลม่อนปิ่น ต้นน้ำเกิดจากธารน้ำที่ดอยอ่างขาง เป็นน้ำที่ผุดขึ้นมาตามธรรมชาติเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง
น้ำตกโป่งน้ำดัง ต.แม่สูน ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติโป่งน้ำดัง มีธารน้ำที่สวยงามมาก
อุทยานแห่งชาติแม่เผอะ ห้วยรักษาต้นน้ำดอยอ่างขาง มีพรรณไม้หลากหลายเหมาะกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์วิทยาเป็นอย่างมาก ป่าไม้มีความสมบูรณ์สูง

การเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
 ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ส้มสายน้ำผึ้ง ลิ้นจี่ หอมหัวใหญ่ ข้าว บ๊วย ท้อ สาลี่ องุ่น สตรอเบอรี่ พุทธานม ฯลฯ
ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่ - แม่น้ำฝาง - ห้วยแม่ใจ - ลำน้ำแม่มาว - ลำน้ำแม่เผอะ - เขื่อนแม่มาว - เขื่อนบ้านห้วยบอน - ห้วยแม่งอน ฯ
โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่
- โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารเกษตรฝาง ผลิตผัก และ ผลไม้บรรจุกระป๋อง ตั้งอยู่ที่ หมู่ 17 ตำบลเวียง
- โรงานเอราวัณฟู๊ด ผลิตผัก และผลไม้กระป๋อง ตั้งอยู่ที่ หมู่ 2 ตำบลแม่งอน
- โรงงานโครงการหลวง ผลิตสินค้าแปรรูปตรา ดอยคำ ของโครงการหลวง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 12 ตำบลแม่งอน
- โรงงานเคลือบไขส้มธนาธร เป็นโรงงานทำความสะอาดและเคลือบไขส้มสายน้ำผึ้งของบริษัท ธนาธร ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 7 ตำบลแม่สูน
- โรงงานอาหารสำเร็จรูปสหปราจีน ผลิตอาหารสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 7 ตำบลแม่คะ

การคมนาคม
     อำเภอฝางตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดเชียงใหม่บนถนนสายเชียงใหม่ฝาง (ถนนโชตนา) ระยะทางห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 154 กิโลเมตร การคมนาคมของอำเภอฝาง ทางบก มีทางหลวงแผ่นดินที่สำคัญ คือ
- ทางแผ่นดินหมายเลข 107 (ถนนโชตนา) ระยะทางถึงไชยปราการประมาณ 24 กิโลเมตร
- ทางหลวงหมายเลข 109 ระยะทางจากฝางถึงแม่สรวย ประมาณ 67 กิโลเมตร
- ทางหลวงหมายเลข 1089 ระยะทางจากฝางถึงแม่อาย ประมาณ 13 กิโลเมตร
- ทางหลวงหมายเลข 1249 ระยะทางจากปากทางอ่างขางถึงอรุโณทัย ประมาณ 65 กิโลเมตร
- ทางหลวงหมายเลข 107 ถึงทางเลี่ยงเมืองฝาง ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร

อ้างอิง
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B8%9D%E0%B8%B2%E0%B8%87