วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประวัติ ฝาง


ประวัติศาสตร์

       
        เดิมอำเภอฝางเป็นที่ตั้งของเมืองฝาง ซึ่งเป็นเมืองหลวงในอดีต มีอายุนับพันปีในตำนานโยนกกล่าวไว้ว่า เมืองฝาง ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 1184 โดยเจ้าลวจังกราช เป็นหัวเมืองทางตอนเหนือของอาณาจักรล้านนา พญามังรายหรือพ่อขุนเม็งรายมหาราชทรงเคยเสด็จมาปกครองเมืองฝางและประทับอยู่ที่เมืองนี้(ก่อนหน้านั้นเมืองฝางอาจจะเป็นเมืองร้างหรือถูกพญามังรายเข้ายืดจากเจ้าเมืององค์ก่อนหรือไม่ยังไม่ทราบแน่ชัด) พระองค์ทรงเตรียมกำลังพลก่อนที่จะยกทัพไปตีเมืองหริภุญชัย สร้างเวียงกุมกาม และสร้างเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 1839 เรียกสั้นๆ ว่า นครเชียงใหม่ต่อไป ดังนั้นเมืองฝางจึงเป็นเมืองโบราณที่มีอายุนับพันปี ปัจจุบันยังปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์คือ กำแพงเมืองและคูเมือง แบบเดียวกับในเมืองเชียงใหม่ 
          อำเภอฝางเคยเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย แต่ถูกโอนมาสังกัดจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2468 ด้วยเหตุผลเรื่องการคมนาคมและการติดต่อราชการ อำเภอฝางได้มีการสร้างที่ว่าการอำเภอฝางขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2488 และปัจจุบันได้มีการสร้างอาคารที่ว่าการอำเภอฝางขึ้นใหม่ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2540 โดยยังคงเก็บรักษาอาคารที่ว่าการอำเภอฝาง หลังเก่าไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมอันเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเสด็จเยี่ยมราษฎร ณ อาคารแห่งนี้เมื่อปีพุทธศักราช 2501 ต่อมาได้มีการแยกกิ่งอำเภอออกคือ กิ่งอำเภอแม่อายในปีพ.ศ. 2510 ก่อนที่ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอแม่อายในปีพ.ศ. 2516 ต่อมาได้แยกกิ่งอำเภออีกคือกิ่งอำเภอไชยปราการในปีพ.ศ. 2531 และได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอไชยปราการในปีพ.ศ. 2537

อำเภอฝาง
       ฝาง  เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง ประชากรมีทั้งชาวไทยพื้นราบและชาวไทยภูเขา อำเภอฝางเป็นอำเภอศูนย์กลางความเจริญในเขตเชียงใหม่ตอนบน มีอำเภอบริวารคือ อำเภอแม่อายและอำเภอไชยปราการ มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสองของจังหวัดเชียงใหม่ รองจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ มีทั้งประชากรจริงและประชากรแฝง อีกทั้งยังสามารถเดินทางไปจังหวัดเชียงรายได้อย่างสะดวกหลายช่องทาง ทำให้อำเภอฝางจะได้รับความเจริญจากจังหวัดเชียงรายจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนจีนตอนใต้-อินโดจีนในอนาคต
ในปี พ.ศ. 2552 อำเภอฝางได้รับการเสนอเพื่อพิจารณาจัดตั้งเป็นศูนย์กลางของจังหวัดฝาง โดยการรวมเอาอำเภอใกล้เคียงเข้าด้วยกันตอนนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณา ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างรอพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎร

 

ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอฝางตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐฉาน (ประเทศพม่า) และอำเภอแม่อาย
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอแม่อาย
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอแม่สรวย (จังหวัดเชียงราย) และอำเภอไชยปราการ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับรัฐฉาน (ประเทศพม่า)
สภาพภูมิอากาศ
มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 25 องศา มีอากาศหนาวเย็นในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 10-19 องศา ส่วนอุณหภูมิสูงสุดอยู่ในช่วงเดือนเมษายน ประมาณ 39 องศา
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอฝางแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 ตำบล 119 หมู่บ้าน ได้แก่

 

การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอฝางประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลเวียงฝาง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเวียง
- เทศบาลตำบลบ้านแม่ข่า ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลแม่ข่า
- เทศบาลตำบลแม่ข่า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ข่า (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบ้านแม่ข่า)
- เทศบาลตำบลสันทราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสันทรายทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเวียง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเวียง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเวียงฝาง)
- องค์การบริหารส่วนตำบลม่อนปิ่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลม่อนปิ่นทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่งอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่งอนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สูน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่สูนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแม่คะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่คะทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งน้ำร้อน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโป่งน้ำร้อนทั้งตำบล

สถานที่ราชการที่สำคัญ
- ที่ทำการอำเภอฝาง
- ศาลจังหวัดฝาง
- เรือนจำอำเภอฝาง
- สำนักงานยุติธรรมจังหวัดเชียงใหม่ สาขาฝาง
- สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดเชียงใหม่ สาขาฝาง
- สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดเชียงใหม่ สาขาฝาง
- สำนักงานอัยการจังหวัดฝาง
- สำนักงานบังคับคดีจังหวัดเชียงใหม่ สาขาฝาง
- สำนักงานสัสดี อำเภอฝาง
- สำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่ สาขาฝาง
- สำนักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาฝาง
- คลังจังหวัดฝาง
- สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาฝาง
- สำนักงานขนส่งจังหวัดเชียงใหม่ สาขาฝาง
- สำนักงานจัดหางาน สาขาฝาง
- สถานีตำรวจภูธรฝาง
- ด่านตรวจคนเข้าเมืองฝาง
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอฝาง
- โรงพยาบาลฝาง
- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 3
- สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย อำเภอฝาง
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม่ (ฝาง)
- อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง
- ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ
- สำนักงานเกษตรอำเภอฝาง
- สำนักงานปศุสัตว์อำเภอฝาง
- สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอฝาง
- สำนักงานวัฒนธรรมและสภาวัฒนธรรมอำเภอฝาง
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สาขาฝาง
- การประปาส่วนภูมิภาค สาขาฝาง
- สถานศึกษาในอำเภอฝาง
- มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย วิทยาเขตฝาง
- วิทยาลัยการอาชีพฝาง
- โรงเรียนฝางชนูปถัมภ์
- โรงเรียนรังษีวิทยา
- โรงเรียนรัตนาเอื้อวิทยา
- โรงเรียนสายอักษร
- โรงเรียนบ้านเวียงฝาง
- โรงเรียนฉือจี้เชียงใหม่

ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ
อำเภอฝางถือว่าเป็นอำเภอที่มีความสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่เพราะมีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญมากมาย เช่น ดอยอ่างขาง ดอยผ้าห่มปก โป่งน้ำร้อน เป็นต้น อำเภอฝางยังเป็นอำเภอที่ปลูกส้มมากเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย และยังเป็นต้นกำเนิดของ ส้มสายน้ำผึ้ง ส้มพันธุ์ใหม่ที่มีรสชาติดี จนทำให้ส้มกลายเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของอำเภอฝาง และสวนส้มยังกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก อำเภอฝางยังเป็นแหล่งที่ค้นพบบ่อน้ำมันดิบแห่งแรกของประเทศไทย มีการขุดเจาะน้ำมันขึ้นมาใช้เป็นเวลากว่า 100 ปีแล้ว จนถึงปัจจุบันนี้ มีการสร้างโรงกลั่นน้ำมัน และพิพิธภัณฑ์ปิโตรเลียม ผู้สนใจสามารถเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และศูนย์การเรียนรู้ด้านปิโตรเลียมและพลังงานอื่น ๆ ของกรมการพลังงานทหาร ณ ศูนย์พัฒนาปิโตรเลียมภาคเหนือ อำเภอฝาง ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 
น้ำมันดิบ ปิโตรเลียม มีการสำรวจขุดเจาะและเก็บกลั่นน้ำมันได้วันละ 1,200 บาเรล โดย กรมการพลังงานทหารกระทรวงกลาโหม ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลแม่คะ สำหรับแหล่งน้ำมันที่ขุดได้อยู่ในเขต ตำบลสันทราย ตำบลแม่สูน และตำบลแม่คะ อำเภอฝาง
ป่าไม้ ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ดอยผ้าห่มปก ป่าสงวนแห่งชาติแม่หลักหมื่น และป่าสงวนแห่งชาติแม่สูน ประกอบด้วย ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าสนเขา ป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ซึ่งมีพันธุ์ไม้ต่างๆที่มีค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ลำดวนดง ประดู่ ทะโล้ จำปีป่า ฯลฯ
บ่อน้ำพุร้อนฝาง ตั้งอยู่ ณ ตำบลโป่งน้ำร้อน สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ นอกจากนี้แล้วยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่น่าท่องเที่ยวได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 จากกรมอุทยานแห่งชาติ ฯ
น้ำรู แหล่งน้ำตามธรรมชาติที่ตำบลม่อนปิ่น ต้นน้ำเกิดจากธารน้ำที่ดอยอ่างขาง เป็นน้ำที่ผุดขึ้นมาตามธรรมชาติเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่ง
น้ำตกโป่งน้ำดัง ต.แม่สูน ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติโป่งน้ำดัง มีธารน้ำที่สวยงามมาก
อุทยานแห่งชาติแม่เผอะ ห้วยรักษาต้นน้ำดอยอ่างขาง มีพรรณไม้หลากหลายเหมาะกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์วิทยาเป็นอย่างมาก ป่าไม้มีความสมบูรณ์สูง

การเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
 ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ส้มสายน้ำผึ้ง ลิ้นจี่ หอมหัวใหญ่ ข้าว บ๊วย ท้อ สาลี่ องุ่น สตรอเบอรี่ พุทธานม ฯลฯ
ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่ - แม่น้ำฝาง - ห้วยแม่ใจ - ลำน้ำแม่มาว - ลำน้ำแม่เผอะ - เขื่อนแม่มาว - เขื่อนบ้านห้วยบอน - ห้วยแม่งอน ฯ
โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่
- โรงงานผลิตภัณฑ์อาหารเกษตรฝาง ผลิตผัก และ ผลไม้บรรจุกระป๋อง ตั้งอยู่ที่ หมู่ 17 ตำบลเวียง
- โรงานเอราวัณฟู๊ด ผลิตผัก และผลไม้กระป๋อง ตั้งอยู่ที่ หมู่ 2 ตำบลแม่งอน
- โรงงานโครงการหลวง ผลิตสินค้าแปรรูปตรา ดอยคำ ของโครงการหลวง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 12 ตำบลแม่งอน
- โรงงานเคลือบไขส้มธนาธร เป็นโรงงานทำความสะอาดและเคลือบไขส้มสายน้ำผึ้งของบริษัท ธนาธร ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 7 ตำบลแม่สูน
- โรงงานอาหารสำเร็จรูปสหปราจีน ผลิตอาหารสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 7 ตำบลแม่คะ

การคมนาคม
     อำเภอฝางตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดเชียงใหม่บนถนนสายเชียงใหม่ฝาง (ถนนโชตนา) ระยะทางห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 154 กิโลเมตร การคมนาคมของอำเภอฝาง ทางบก มีทางหลวงแผ่นดินที่สำคัญ คือ
- ทางแผ่นดินหมายเลข 107 (ถนนโชตนา) ระยะทางถึงไชยปราการประมาณ 24 กิโลเมตร
- ทางหลวงหมายเลข 109 ระยะทางจากฝางถึงแม่สรวย ประมาณ 67 กิโลเมตร
- ทางหลวงหมายเลข 1089 ระยะทางจากฝางถึงแม่อาย ประมาณ 13 กิโลเมตร
- ทางหลวงหมายเลข 1249 ระยะทางจากปากทางอ่างขางถึงอรุโณทัย ประมาณ 65 กิโลเมตร
- ทางหลวงหมายเลข 107 ถึงทางเลี่ยงเมืองฝาง ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร

อ้างอิง
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B8%9D%E0%B8%B2%E0%B8%87




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น